รู้หรือไม่ ? โถสุขภัณฑ์แต่ละแบบแตกต่างกันอย่างไร

 รู้หรือไม่ ? โถสุขภัณฑ์แต่ละแบบแตกต่างกันอย่างไร

ห้องน้ำ จัดเป็นห้องที่มีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างสูง ไม่ว่าจะในบ้านหรือคอนโด เพราะมีองค์ประกอบภายในมากกว่าห้องอื่นๆ ไหนจะต้องคำนึงถึงความชื้น ความสะอาด ความปลอดภัย ความสะดวกสบาย และปัจจัยอื่นๆ ด้วยการเลือกคุณภาพวัสดุในการก่อสร้าง อุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆและสุขภัณฑ์ภายในห้องน้ำจึงทำให้ห้องน้ำมีต้นทุนในการก่อสร้างสูงกว่าห้องอื่นๆ 

อุปกรณ์ชิ้นสำคัญภายในห้องน้ำ ที่ขาดไปไม่ได้ ก็คือ โถสุขภัณฑ์ หรือ ชักโครก ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นพิเศษ เพราะเป็นอุปกรณ์ภายในห้องน้ำที่เราใช้กันทุกวันเป็นประจำ ซึ่งเจ้าโถนี้ก็มีมูลค่าตั้งแต่หลักร้อยจนถึงหลักแสน.. ใช่ครับ หลายคนอาจจะไม่เชื่อ แต่มีจริงๆนะโถราคาหลักแสนบาท เพราะโถสุขภัณฑ์ 1 ชิ้น จะมีหลายองค์ประกอบ ตั้งแต่ ความสวยงาม, ระบบการทำงาน, ขนาดที่มีผลต่อความสะดวกสบาย และความพึงพอใจของผู้ใช้ ถ้าเลือกไม่ดี ไม่เหมาะสมกับการใช้งาน ก็อาจเป็นปัญหาตามมาให้ปวดหัวกันภายหลังได้ ดังนั้นวันนี้ผมจึงจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับโถสุขภัณฑ์ให้มากยิ่งขึ้น ว่ามีชนิดไหนบ้าง แต่ละแบบทำงานต่างกันอย่างไร ข้อดีและข้อเสีย รวมถึงอัพเดทคุณสมบัติของโถสุขภัณฑ์อัตโนมัติในปัจจุบันว่าพัฒนากันไปถึงไหนแล้ว สำหรับเป็นตัวเลือกในการนำมาใช้งานในครัวเรือนได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสมครับ

โถสุขภัณฑ์ที่เราคุ้นเคยกันจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือแบบนั่งยอง และแบบนั่งราบ ซึ่งถ้าเรากำลังพูดถึงโถสุขภัณฑ์ที่จะได้มากับตัวบ้านหรือคอนโด ก็คงจะต้องเป็นโถแบบนั่งราบเท่านั้น ซึ่งแค่โถลักษณะนี้ก็แบ่งออกภายในได้อีกหลายประเภทเลยเหมือนกัน ขอเริ่มที่แบ่งออกเป็น 2 แบบคือแบบ แขวนผนัง และตั้งพื้น

โถสุขภัณฑ์แบบแขวนผนัง

โถลักษณะนี้จะมีตัวฐานรองนั่งยึดติดกับผนังและลอยขึ้นจากพื้น ทำให้มีลักษณะเป็นชิ้นเดียว ดูสวยงามและสามารถทำความสะอาดได้ง่าย ซึ่งจะมีให้เห็นกันตามห้างสรรพสินค้า คอนโดและบ้านที่มีราคาสูงหน่อย หรือห้องน้ำสำเร็จรูป

ข้อดี

  • ดูเรียบร้อย สวยงาม
  • ทำความสะอาดง่าย
  • ไม่ค่อยมีร่องหรือรอยต่อสำหรับสะสมสิ่งสกปรก

ข้อเสีย

  • ต้นทุนราคาก่อสร้างจะสูงกว่าแบบทั่วไป
  • ต้องมีการเตรียมหน้างานก่อนเนื่องจากผนังจะต้องสามารถรับน้ำหนักได้พอสมควร
  • มีรุ่นให้เลือกไม่มากเท่าไรนัก
  • มีระบบชำระล้างแบบเดียวคือระบบ Wash Down
  • มีระบบระบายน้ำระบบเดียวคือ P-Trap (ต่อท่อออกผนัง)
  • หากเสียหากจะต้องเปลี่ยนทั้งชิ้น

https://www.kohler.co.th/browse/bathroom/Categories/bathroom-faucets

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พร้อพเพอร์ตี้ โฮม บิลเดอร์ (Property Home Builder) รับสร้างบ้าน ด้วยคุณภาพของแบบบ้านและงานก่อสร้าง

ดูหนังออนไลน์ ดียังไง

ดูหนังออนไลน์ ดียังไง