เช็กสัญญาณอาการมวลกล้ามเนื้อสลาย
เช็กสัญญาณอาการมวลกล้ามเนื้อสลาย
มาเช็กมวลกล้ามเนื้อของร่างกาย สัญญาณอะไรบ้าง ที่ร่างกายกำลังบอกเราอยู่ ระบบกล้ามเนื้อมีความสำคัญ ต่อการเคลื่อนไหวของร่างกายมนุษย์ทำหน้าที่ช่วยพยุงโครงสร้างทั้งหมดของร่างกาย กล้ามเนื้อที่แข็งแรงจะ ช่วยเพิ่มการเผาผลาญ และทำให้กระดูกแข็งแรงเพราะกล้ามเนื้อที่แข็งแรงจะช่วยป้องกันไม่ให้กระดูกเกิดการพรุน ได้ ช่วยลดอาการปวดข้อ และลดความเสี่ยงในการหักของกระดูก ซึ่งหากเกิดกล้ามเนื้อสลาย จากปัจจัยหลักที่มา จากโภชนาการที่ไม่ดี และไม่เพียงพอจะส่งผลเสียโดยตรงต่อร่างกาย กล้ามเนื้อ
เช็กสัญญาณอาการมวลกล้ามเนื้อสลาย
● ภาวะโภชนาการไม่ดี
โดยทั่วไปเราควรรับประทานอาหารให้ได้อย่างน้อย 1,800-2,000 กิโลแคลอรีต่อวัน ซึ่งในชีวิตประจำวันในการ รับประทานอาหารแต่ละมื้อ เราไม่สามารถทราบได้เลยว่า เราได้รับโภชนาการที่เหมาะสมและครบ 5 หมู่หรือไม่ หากมี ตัวช่วยอย่าง อาหารสูตรครบถ้วน ที่จะการันตีโภชนาการในทุกมื้ออาหาร ว่าคุณจะได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและ เพียงพอแน่นอน
สัดส่วนอาหารที่เหมาะสมต่อมื้อ ได้แก่
- คาร์โบไฮเดรต 25 %
- โปรตีน 25%
- ผัก-ผลไม้ 50%
บางครั้งการรับประทานอาหารในสัดส่วนปริมาณที่พอดีทุกมื้อ คงเป็นเรื่องยาก จะดีกว่าไหมถ้ามีตัวช่วย อย่าง อาหารสูตรครบถ้วน แก้วเดียว ที่มีทั้งสารอาหาร วิตามินและแร่ธาตุ ที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย ทำให้ร่างกายได้รับ สารอาหารที่เพียงพอในทุกมื้อ
● 2 อ ไม่สมดุล
ในที่นี้หมายถึง อาหาร และ การออกกำลังกาย บางคนโหมออกกำลังกายหนัก การออกกำลังกายตอนเช้า ในขณะ ที่ท้องว่าง หลังจากนอนหลับมา 8 ชั่วโมง ถือว่าเป็นการออกกำลังที่ทารุณร่างกายและอาจทำให้มวลกล้ามเนื้อ หายไป ทางที่ดีควรออกกำลังกายหลังจากได้รับพลังงานจากอาหารในแต่ละมื้อแล้ว
● ออกกำลังกายไม่ครบทุกส่วน
เนื่องจากมวลกล้ามเนื้อหมายถึง กล้ามเนื้อทั้งหมดที่อยู่ในร่างกาย การออกกำลังกายส่วนใดส่วนหนึ่งเพื่อให้ ร่างกายส่วนนั้นมีขนาดใหญ่กว่าปกติ ออกแต่ท่าเดิม หรือ ออกเฉพาะส่วนที่ต้องการ ล้วนแต่ไม่เป็นผลดีต่อมวล กล้ามเนื้อโดยรวม
● ไม่ warm up ไม่ cool down
ก่อนและหลังการออกกำลังกายควร warm up และ cool down จนเป็นนิสัย แม้การยืดเส้นสายต่าง ๆ จะเป็นเรื่อง น่าเบื่อที่ใครหลายคนมองข้ามไป แต่กลับส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อมวลกล้ามเนื้อ และลดอาการบาดเจ็บจากการ ออกกำลังกายได้อีกด้วย
● พักผ่อนไม่เพียงพอ
การนอนหลับคือช่วงเวลาที่ร่างกายได้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ การเสริมสร้างมวลกล้ามเนื้อก็จะเกิดขึ้นในช่วงที่ ร่างกายได้นอนหลับพักผ่อนเช่นกัน เพราะฉะนั้นการอดนอน จึงเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้มวลกล้ามเนื้อลดลง
ทั้งหมดนี้เป็นพฤติกรรมเสี่ยงในชีวิตประจำวันที่อาจทำให้มวลกล้ามเนื้อลดลง เมื่อมวลกล้ามเนื้อลดลง ร่างกายจะได้รับผลกระทบ และมีอาการบ่งชี้ ดังนี้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น